วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13

วันพุธ ที่ 19 เมษายน 2560

เวลา 8.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์สอนเขียนแผน IEP โดยอาจารย์สอนนักศึกษาเขียนแผน
ไปพร้อมๆ กับอาจารย์ 



ตัวอย่างแผน








หลังจากนั้นอาจารย์ได้นำแผนกราฟิกเเต่ละรูปเเบบมาให้นักศึกษาได้ดู






















การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำเทคนิคการเขียนที่อาจารย์สอนไปใช้ได้
  • นำรูปแบบผังกราฟฟิกไปใช้ในการสอน
ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจเรียน มาสายนิดหน่อย 
ประเมินเพื่อน
  • พื่อนตั้งใจเรียน มีการตอบโต้ซักถามกันระหว่างเรียน
ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา พูดจาสุภาพเรียนร้อย เเต่งกายเหมาะสม

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12

วันพุธ ที่ 12 เมษายน 2560

  เวลา 8.30 - 12.30 น.


*ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก หยุดชดเชยวันสงกรานต์*




บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11

วันพุธ ที่ 5 เมษายน 2560

 เวลา 8.30 - 12.30 น.



***ไม่มีการเรียนการสอน ***

เนื่องจากอาจารย์ไปราชการที่จังหวัดอ่างทอง


วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2560


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10

วันพุธ ที่ 29 มีนาคม 2560

เวลา 8.30 - 12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์สอนเรื่องการเขียนแผน IEP 


โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล 
(Individualized Education Program)

•แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น 
•เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา 
•ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก 
•โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
•คัดแยกเด็กพิเศษ 
•ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร 
•ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด 
•เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้ 
•แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP 

IEP ประกอบด้วย
•ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก 
•ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง 
•การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน 
•เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น 
•ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน 
•วิธีการประเมินผล 

ประโยชน์ต่อเด็ก
•ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน 
•ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน 
•ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม 
•ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ 

ประโยชน์ต่อครู
•เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก 
•เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก 
•ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป 
•เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก 
•ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
•ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ 
•ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร 
•เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน 

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
•รายงานทางการแพทย์ 
•รายงานการประเมินด้านต่างๆ 
•บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
•ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง 
•กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น 
•กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม 
•จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
 จุดมุ่งหมายระยะยาว
•กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง 
–น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้ 
–น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น 
–น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้ 
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
•ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก 
•เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์•จะสอนใคร 
•พฤติกรรมอะไร 
•เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด) 
•พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน 

3. การใช้แผน
•เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น 
•นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 
•แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก 
•จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน§ต้องมีการสังเกตเก็บ
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง 
1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ 
2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก 
3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล 

•โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น 
•ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล 
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม
อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**



กิจกรรมในวันนี้คือ อาจารย์ให้วาดรูปลายมือของตัวเองว่าเป็นอย่างไร เเล้วนำไปใหเพื่อตามหาลายมือว่าเป็นลายมือของใคร


ลายมือของดิฉัน
ลายมือของเพื่อนที่จะต้องตามหา ซึ่งดิฉันได้ตามหาเจอนั้นก็คือลายมือของ แอ๋ม 


กิจกรรมนี้สะท้อนให้เห็นว่า คนเป็นครูควรที่จะจดบันทึกไว้เมื่อสังเกตพฤติกรรมเด็ก เพราะว่าในวันหน้าเราอาจจะลืมพฤติกรรมนั้น
กิจกรรมที่ 2 คือวงกลมหลายสี อาจารย์ให้ใช้สีเทียนสีอะไรก็ได้เเล้ววาดเป็นวงกลมเล็กหรือใหญ่ก็ได้ หลังจากนั้นก็ดูว่าเเต่ละสีมีความหมายว่าอย่างไร

หลังจากนั้นนำวงกลมของเเต่ละคนมารวมติดรวมกันเเล้วดูภาพรวมว่ากลุ่มเรียนนี้มีลูกษณะเป็นอย่างไร


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำเทคนิคต่างๆที่อาจารย์สอนไปใช้กับเด็กพิเศษได้จริง
ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินเพื่อน
  • ตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์เเต่งตัวเรียบร้อย พูดจาเพราะ ยกตัวอย่างการสอนได้อย่างเข้าใจ ชอบเรียนกับอาจารย์ตรงที่มือกิจกรรมให้ทำ เพราะว่าจะได้ผ่อนคลายในการเรียนทำให้ไม่เคลียด