วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6

วันพุธ ที่ 1 มีนาคม 2560

เวลา 8.30 - 12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ

8.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders)


•มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
•แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
•มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
•เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
•เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
•ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
•ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
•ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
•ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต


การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
•ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
•ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
•กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
•เอะอะและหยาบคาย
•หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
•ใช้สารเสพติด
•หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ

ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)•จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที
•ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
•งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด

สมาธิสั้น (Attention Deficit)•มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
•พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
•มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
•หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
•เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
•ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก

ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย(Function Disorder)
•ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder)
•การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation)
•การปฏิเสธที่จะรับประทาน
•รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
•โรคอ้วน (Obesity)
•ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)

ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง•ขาดเหตุผลในการคิด
•อาการหลงผิด (Delusion)
•อาการประสาทหลอน (Hallucination)
•พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง
   สาเหตุ
•ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology)
•ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)
   ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
•ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
•รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
•มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
•มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์
•แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
•มีความหวาดกลัว

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
•เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
•เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)



เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)

ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ
Inattentiveness
Hyperactivity
Impulsiveness

   Inattentiveness (สมาธิสั้น)
•ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ
•ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ
•มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย
•เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ
•เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด

   Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
•ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
•เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
•เหลียวซ้ายแลขวา
•ยุกยิก แกะโน่นเกานี่
•อยู่ไม่สุข ปีนป่าย
•นั่งไม่ติดที่
•ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง

   Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
•ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
•ขาดความยับยั้งชั่งใจ
•ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ
•ไม่อยู่ในกติกา
•ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง
•พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง
•ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน
สาเหตุ
•ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine)
•ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex)
•พันธุกรรม
•สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ


9. เด็กพิการซ้อน Children with Multiple Handicaps

•เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
•เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
•เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้กับเด็กพิเศษได้ เช่น เมื่ครูโดนเด็กด่า ให้ครูนั้นดุเเละสอนว่าถ้าคราวหน้าพูดไม่เพราะอีกครูจะลงโทษนะ
ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินเพื่อน
  • ตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์เเต่งตัวเรียบร้อย พูดจาเพราะ ยกตัวอย่างการสอนได้อย่างเข้าใจ


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560

ไปดูการเรียนเเบบรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

ณ โรงเรียนเกษมพิทยา

เวลา 8.30 - 12.30 น.


    เดินทางไปถึงโรงเรียนเวลา 07.40 น.ได้เห็นคุณพ่อคุณแม่ มาส่งเด็กๆที่หน้าทางเดินเข้าห้อง โดยที่มีคุณครู เเละพี่ฝึกสอนมายืนรอรับเด็ก
   เวลา 08.10 น.ครูพาเด็กๆลงมาเล่นเครื่องเล่นสนามเพื่อที่จะรอเข้าเเถวเคารพธงชาติ หลังจากนั้นครูที่โรงเรียนก็ได้ทำการจัดกลุ่มเพื่อเข้าสังเกตเด็กพิเศษเเต่ละห้อง ซึ่งดิฉันได้สังเกตเด็กห้อง 2/2 ห้องครูบีเเละครูโอ มีพี่ปี 5 ฝึกสอน 3คน พี่จอย พี่เเพม พี่เเต้ว(มรภ.สวนดุสิต) ห้อง 2/2 มีเด็กพิเศษ 3 คน น้องเป็นเด็กออทิสติกทั้ง 3 คน 

  จากการสัมภาษณ์ ครูบี พี่จอย เเละพี่เเพม 
   น้องน้ำปั่น อายุ 7 ปี น้องเป็นออสทิติกนิดๆ น้องจะเป็นเด็กที่น่ารัก ขี้อ้อน ขี้สงสัย ชอบโอ๋เพื่อน เช่น เวลาที่เพื่อร้องไห้น้องก็จะเข้าไปโอ๋ไปปลอบใจ น้องสามารถเข้ากับเพื่อนเรียนกับเพื่อนเ่ลนกับเพื่อนได้ปกติ พูดคุยรู้เรื่อง เเต่จะมีปัญหาทางด้านภาษา ปรับโทนเสียง เป็นคนที่ติดพูดโทนเสียงสูง เพราะว่าผู้ปกครองที่บ้านชอบพูดเล่น ชอบพูดโทนเสียงสูง จึงทำให้น้องนั้นติดพูดเเบบนี้มาจากที่บ้าน เเละเรื่องการควบคุมอารมณ์ของตนเองไม่ได้โดยเฉพาะเรื่องกิน เวลาเพื่อนเเย่งอาหาร น้องจะโวยวายขึ้นมาทันที
   น้องอั่งเปา อายุ 7ปี น้องเป็นออสทิติก น้องจะเหมือนเด็กปกติทั่วๆไป ชอบเขินอายเวลาเเซว หรือเวลาที่น้องโกรธสีหน้าน้องจะบ่งบอก ช่วยเหลือตนเองได้ บอกความต้องการของตนเองได้ สามารถเข้ารวมกิจกรรมกับเพื่อนได้ น้องชอบฟังนิทานเเละอ่านนิทานเรื่องเดิมๆทั้งวัน เพราะว่าก่อนนอนเเม่ของน้องจะอ่านหนังสือนิทานให้ฟังวันละ 7-8 เล่ม จุดเด่นของน้องคือ เกินคณิตศาสตร์ บวก ลบ เลขได้ มีความจำดี เเต่จะไม่อยู่นิ่ง ชอบเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ชอบออกกำลัยกาย พี่แพมเล่าว่าตอนเเรกๆเข้ามาก็ยังไม่ค่อยรู้ พอได้อยู่กับน้อง ก็ได้ฝึกให้เป็นคนใจเย็นลง ค่อยๆปรับพฤติกรรม ใช้การ ซ้ำ ย้ำ ทวน บ่อยๆ พูดหรือสั่งๆบ่อย ถ้ายังไม่เข้าใจหรือยังไม่ทำตามคำสั่งให้เข้าไปสัมผัสที่ร่างกายเเล้วพาน้องทำ อย่างเช่นบอกให้น้องไปล้างมือ ก็บอกที่ละขั้นตอน 
   น้องไฮเตอร์ อายุ 7 ปี น้องเป็นออสทิติกที่ต้องได้รับการดูเเลอย่างใกล้ชิดจากครูมากกว่า น้ำปั่น ฮั่งเปา น้องชอบเดินเขย่งเดิน เวลาพูดรูปปากน้องจะเบี้ยว สื่อสารไม่ค่อยได้ ชอบมองพัดลมหมุุน เเต่ถ้าเมื่อไรที่น้องมอง เเล้วพัดลมหยุด เขาก็จะโววาย ร้องไห้ทันที น้องจะไม่เข้าไปเล่นกับเพื่อน ไม่มีสังคม ด้านภาษา บอกความต้อ
งการของตนเองไม่ได้ น้องจะชอบชี้ที่ส่วนต่างของอวัยวะ เเล้วชอบให้พูดตาม ขัดใจน้องไม่ได้ ชอบทำพฤติกรรมซ้ำๆต้องทำกิจกรรมทุกอย่างเหมือนเดิมเป็นกิจวัตร ถ้าเมื่อไรที่เปลี่ยนเขาจะไม่เข้าใจ ร้องไห้ เมื่อเกิดพฤติกรรมนี้พี่ฝึกสอนก็จะพาน้องไปเดินเล่นข้างนอก ดื่มน้ำเย็น เวลาทำกิจกกรรมศิลปะครูก็ค่อยช่วย ประกบพาน้อง ช่วยจับเเขนทำกิจกรรมอยู่เสมอๆ

ภาพกิจกรรม





วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4

วันพุธ ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560

เวลา 8.30 - 12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ


ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
(Children with Learning Disabilities)


  • เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability) 
  • เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
  • ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย
สาเหตุของ LD

  •   ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพ ตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
  •   กรรมพันธุ์
1. ด้านการอ่าน(Reading Disorder)

  •   หนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
  •   อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
  •   ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการอ่าน

  •   อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
  •   อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
  •   เดาคำเวลาอ่าน
  •   อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
  •   อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
  •   ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
  •   ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
  •   เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้
2. ด้านการเขียน(Writing Disorder)

  •   เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
  •   เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
  •   เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ 
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน

  •   ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
  •   เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
  •   เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เช่น ม-น, ภ-ถ, ด-ค, พ-ผ, b-d, p-q, 6-9
  •   เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
  •   เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
  •   เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
  •   จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
  •   สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
  •   เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
  •   เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
  •   ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง
3. ด้านการคิดคำนวณ(Mathematic Disorder)

  •   ตัวเลขผิดลำดับ
  •   ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
  •   ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
  •   แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้ 
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการคำนวณ

  •   ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
  •   นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
  •   คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
  •   จำสูตรคูณไม่ได้
  •   เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
  •   ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
  •   ตีโจทย์เลขไม่ออก
  •   คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
  •   ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
  • 4. หลายๆ ด้านร่วมกัน
  • อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD
  •   แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
  •   มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
  •   เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
  •   งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
  •   การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
  •   สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
  •   เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
  •   ทำงานช้า
  •   การวางแผนงานและจัดระบบไม่ดี
  •   ฟังคำสั่งสับสน
  •   คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
  •   ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
  •   ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
  •   ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
  •   ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน
7. ออทิสติก (Autistic)

  •   หรือ ออทิซึ่ม (Autism)
  •   เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  •   ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
  •   ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม
  •   เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
  •   ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต 
  • "ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว" 
  •   ทักษะภาษา
  •   ทักษะทางสังคม
  •   ทักษะการเคลื่อนไหว
  •   ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่
ลักษณะของเด็กออทิสติก

  •   อยู่ในโลกของตนเอง
  •   ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
  •   ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
  •   ไม่ยอมพูด
  •   เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ 
ออทิสติกเทียม

  •   ปล่อยให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ  
  •   ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอแพด
  •   ดูการ์ตูนในทีวี 
Autistic Savant

  •   กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker)จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking)
  •   กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker)จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking)

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  • สามารถนำความรู้พื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยไปใช้ปฎิบัติกับเด็กพิเศษได้
ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน
  • ตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์เเต่งตัวเรียบร้อย พูดจาเพราะ ยกตัวอย่างการสอนได้อย่างเข้าใจ

เนื่องจากวันนี้เป็นเกิดอาจารย์ หนูขอให้อาจารย์สุขภาพเเข็งเเรงมากๆค่ะ มีความสุขมากๆ :)